Monthly Archives: กันยายน 2012

แบบฝึกหัดบทที่ 2 (ข้อ 13)

13.)  กำหนดระบบที่มี 4 โปรเซสคือ P1 ,P2 ,P3 , และ P4  มีทรัพยากร 4  ชนิดคือ R1 ,R2 , R3 และ R4

 

ตอบ   13.1)  ระบบนี้อยู่ในสถานะปลอดภัย  (safe sequence)  หรือไม่  อธิบายเหตุผล

 

 

ระบบนี้อยู่ในสถานะปลอดภัย (Safe State) โดยมีลำดับความปลอดภัย (Safe Sequence) ของระบบ ได้แก่  P1, P3, P4, P5 และ P2  ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าระบบจัดสรรทรัพยากรให้แต่ละโปรเซสโดยเรียงลำดับการจัดสรรตามลำดับความปลอดภัยที่ได้นี้จะทำให้ระบบอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย

ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากที่แต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย คือ R1=3, R2=14, R3=12, R4=1

13.2 แสดงลำดับความสำคัญของระบบ

ตอบ   <P1, P3, P4, P5, P2>

13.3 ถ้า P3 ขอใช้ทรัพยากร (Request3) เป็นจำนวน (1, 1, 1, 1) ระบบจะจัดสรร (Allocate) ทรัพยากรให้แก่ โปรเซส P3 ตามที่โปรเซสต้องการหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ   ระบบจะจัดสรร (Allocate) ทรัพยากรให้แก่ โปรเซส P3 ตามที่โปรเซสต้องการ เพราะการครอบครองทรัพยากร ของ P3 มีดังนี้ (1, 3, 5, 4) ซึ่งความต้องการเป็นจำนวน (1, 1, 1, 1)

13.4 ถ้า P2 ขอใช้ทรัพยากร (Request2) เป็นจำนวน (0, 4, 2, 0) ระบบจะจัดสรร (Allocate) ทรัพยากรให้แก่ โปรเซส P2 ตามที่โปรเซสต้องการหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ  ระบบจะจัดสรร (Allocate) ทรัพยากรให้แก่ โปรเซส P2 ตามที่โปรเซสต้องการไม่ได้ เพราะการครอบครองทรัพยากร ของ P2 มีดังนี้ (1, 0, 0, 0) ซึ่งความต้องการเป็นจำนวน (0, 4, 2, 0)

13.5 แสดงค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากที่แต่ละโปรเซสทำงานในข้อ 13.3 เสร็จเรียบร้อย

ตอบ  ค่าของเมตริกซ์ Available  (1, 3, 5, 4)

แบบฝึกหัดบทที่ 2 ข้อ 4

พิจารณาตารางต่อไปนี้

 

ตารางข้างบนแสดงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบไปด้วย 4 โปรเซสแต่ละโปรเซสมีเวลาที่โปรเซสเข้ามาในระบบ  Arrival Time  และปริมาณเวลาที่โปรเซสต้องการใช้ซีพียู  Run Time  ตามที่กำหนดให้ในตาราง
ให้แสดงวิธีคำนวณเพื่อหาค่าของเวลาครบวงงานเฉลี่ย  Average turnaround time  และเวลารอเฉลี่ย  Average waiting time  เมื่อใช้อัลกอริทึมกำหนดให้ต่อไปนี้
1.)  มาก่อนบริการก่อน (First-Come, First-Serve Scheduling : FCFS)
Process     Burst Time

P1            24

P2            3

P3            3

Suppose that the processes arrive in the order: P1 , P2 , P3
The Gantt Chart for the schedule is:

 

 

 

n       Waiting time for P1  = 0; P2  = 24; P= 27

 

Average waiting time:  (0 + 24 + 27)/3 = 17

 

2.)  งานสั้นทำก่อน (Shortest-Job First Scheduling : SJF )  แบบ Preemptive process  และ Non-Preemptive process
แบบ Preemptive process
Process  Arrival Time Burst Time

 

P1            0.0          7

 

P2           2.0          4

 

P3          4.0          1

 

P4          5.0          4

 

 

แบบฝึกหัดบทที่2 (ข้อ 12) Safety Algorithm

12.)   กำหนดระบบทีมี  4  โปรเซสคือ P1 ,P2 ,P3 , และ P4  มีทรัพยากร 2  ชนิดคือ R1 และ R2  ให้แสดงลำดับความปลอดภัย(safe sequence) ของระบบ และแสดงค่าของเมตริกซ์  Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย

ตอบ

ข้อ 1   (โปรเซสที่ P2)

เมื่อ P2 โปรเซสเสร็จทำให้ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย ของ R1 มีค่าเท่ากับ 1 และ R2 มีค่าเท่ากับ 2

ข้อ 2  (โปรเซสที่  P4)

เมื่อ P4 โปรเซสเสร็จทำให้ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย ของ R1 มีค่าเท่ากับ 3 และ R2 มีค่าเท่ากับ 2

ข้อ  3  (โปรเซสที่  P1)

เมื่อ P1 โปรเซสเสร็จทำให้ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย ของ R1 มีค่าเท่ากับ 4 และ R2 มีค่าเท่ากับ 4

ข้อ  4  (โปรเซสที่  P3)

เมื่อ P3 โปรเซสเสร็จทำให้ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อย ของ R1 มีค่าเท่ากับ 5 และ R2 มีค่าเท่ากับ 4

ดังนั้น ลำดับความปลอดภัย (Safe Sequence) ของระบบ ได้แก่ P2, P4, P1 และ P3

ค่าของเมตริกซ์ Available หลังจากแต่ละโปรเซสทำงานเสร็จเรียบร้อยของ R1 มีค่าเท่ากับ 5 และ R2 มีค่าเท่ากับ 4

ข้อ 11 หน้า 110 การติดตาย(Deadlocks)

  1. การติดตายคืออะไร
  2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการติดตายมีอะไรบ้าง
  3. อธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

การติดตาย คือ การที่โปรเซสต้องการใช้ทรัพยากร และร้องขอทรัพยากรจากระบบ แต่ทรัพยากรที่โปรเซสต้องการใช้ไม่ว่าง เนื่องจากโปรเซสอื่นกำลังใช้งานอยู่ ทำให้โปรเซสนั้นๆ ต้องรอคอย และเป็นการรอคอยที่ไม่มีที่สิ้นสุด (โปรเซสไม่มีโอกาสได้รับการจัดสรรทรัพยากร)

สาเหตุของการติดตาย

การติดตายเกิดจากสาเหตุ 4 ประการ ดังนี้

  1. การบังคับไม่ให้โปรเซสเข้าใช้ทรัพยากร ทำให้โปรเซสอื่นๆ ไม่สามารถเข้าใช้ทรัพยากรในขณะที่ทรัพยากรนั้นถูกครอบครองโดยโปรเซสใดโปรเซสหนึ่งอยู่
  2. การครองทรัพยากรค้างไว้ในขณะที่ร้องขอใช้ทรัพยากรอีกอย่างหนึ่ง
  3. การที่ไม่สามารถปลดปล่อยทรัพยากรที่ครองอยู่ได้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่องานที่กำลังทำอยู่
  4. การคอยคอยทรัพยากรซึ่งกันและกันในลักษณะงูกินหาง

การติดตาย (Deadlocks)

การทำงานร่วมกันของโปรเซสหลายโปรเซส (ในระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง) เมื่อโปรเซสต้องการใช้ทรัพยากร จะต้องร้องขอทรัพยากรจากระบบ โดยสามารถขอใช้ทรัพยากรให้ได้จำนวนมากที่สุด เพื่อให้โปรเซสสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น แต่ไม่สามารถร้องขอทรัพยากรมากเกินกว่าที่ระบบมีอยู่จริง

เมื่อโปรเซสต้องการใช้ทรัพยากรของระบบ โปรเซสต้องทำตามลำดับขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้

  • การร้องขอ (Request)
  • การใช้งาน (Use)
  • การคืน (Release)

การร้องขอ (Request)
เมื่อโปรเซสต้องการใช้ทรัพยากรใดๆ จะต้องทำการร้องขอทรัพยากรนั้นจากระบบ โดยระบบจะตรวจสอบว่า ทรัพยากรที่ถูกร้องขอว่างหรือไม่กรณีที่ทรัพยากรว่าง โปรเซสจะได้รับการจัดสรรทรัพยากรทันทีแต่ถ้าทรัพยากรไม่ว่าง (ถูกใช้งานโดยโปรเซสอื่น) โปรเซสที่ร้องขอจะต้องรอจนกว่าจะได้รับทรัพยากรที่ต้องการ
การใช้งาน (Use)
เมื่อโปรเซสได้รับทรัพยากรที่ต้องการแล้ว โปรเซสสามารถใช้งานทรัพยากรที่ได้รับ เช่น เครื่องพิมพ์ เมื่อได้รับการจัดสรรเครื่องพิมพ์แล้ว โปรเซสสามารถพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ได้
การคืน (Release)
โปรเซสต้องคืนทรัพยากรที่ใช้เสร็จแล้วกลับสู่ระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้โปรเซสอื่นที่ต้องการใช้ทรัพยากรนั้น ได้รับการจัดสรรทรัพยากรต่อไป

บางครั้งเมื่อโปรเซสต้องการใช้ทรัพยากร และร้องขอทรัพยากรจากระบบแต่ทรัพยากรที่โปรเซสต้องการใช้ไม่ว่าง เนื่องจากโปรเซสอื่นกำลังใช้งานอยู่ ทำให้โปรเซสนั้นๆ ต้องรอคอย และเป็นการรอคอยที่ไม่มีที่สิ้นสุด (โปรเซสไม่มีโอกาสได้รับการจัดสรรทรัพยากร) เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การติดตาย(Deadlocks)เช่น โปรเซส A ต้องการใช้เครื่องพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์ถูกใช้โดยโปรเซส B ทำให้โปรเซส A ต้องรอจนกว่าเครื่องพิมพ์จะว่าง ส่วนโปรเซส B อยู่ในสถานะรอให้ทรัพยากรอื่นว่างเช่นกัน ทำให้โปรเซส A ไม่มีโอกาสได้รับจัดสรรให้ใช้เครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นการรอคอยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ตัวอย่างการติดตาย

โปรเซส A ต้องการใช้เครื่องพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์ถูกใช้โดยโปรเซส B ทำให้โปรเซส A ต้องรอจนกว่าเครื่องพิมพ์จะว่าง ส่วนโปรเซส B อยู่ในสถานะรอให้ทรัพยากรอื่นว่างเช่นกัน ทำให้โปรเซส A ไม่มีโอกาสได้รับจัดสรรให้ใช้เครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นการรอคอยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เกิดการติดตาย เช่น การติดตายในการจราจร การติดตายในการใช้ทรัพยากร

ข้อ 3 หน้า 107 CPU Scheduling-1

กำหนดการใช้ซีพียู โดยใช้อัลกอริธึมที่กำหนดต่อไปนี้ แต่ละอัลกอริธึมมีปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

1.มาก่อนบริการก่อน(FCFS : First-come First-served Scheduling)

เป็น อัลกอริทึมที่ง่ายที่สุด โดยจะกำหนดให้โปรเซสที่ร้องขอซีพียูก่อน เป็นโปรเซสที่ได้รับซีพียู ก่อน เมื่อมีโปรเซสที่อยู่ในสถานะพร้อมที่จะทำงาน โปรเซสนั้นจะถูกนำเข้าไปต่อท้ายคิวพร้อม เมื่อซีพียูว่าง ระบบปฏิบัติการจะเรียกกำหนดการซีพียู เพื่อให้พิจารณามอบซีพียูให้แก่โปรเซสที่อยู่ต้นคิวของคิวพร้อม ปัญหาที่อาจะเกิดขึ้น Convoy effect : การทำงานของอัลกอริทึมนี้ดูเหมือนเป็นการยุติธรรมที่ให้สิทธิการเข้าใช้ซีพียู แก่โปรเซสที่เข้ามาอยู่ในคิวพร้อมก่อน แต่ในกรณีที่ในคิวพร้อมของระบบมีทั้งโปรเซสที่เน้นซีพียู และโปรเซสที่เน้น I/O จะพบว่า โปรเซสที่เน้น I/O จะต้องเสียเวลารอนานมาก เพื่อเข้าใช้งานซีพียูในระยะเวลาที่ไม่นานมากนัก ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา Convoy effect คือ เหตุการณ์ที่โปรเซสขนาดเล็กในระบบ จะต้องเสียเวลารอโปรเซสขนาดใหญ่ที่ครอบครองซีพียูเป็นเวลานานการทำงานของอัลกอริทึมนี้ เป็นการทำงานที่ไม่สามารถขัดจังหวะ หรือแทรกกลางคันได้ (Non-Preemptive process)  ซึ่งจะไม่เหมาะกับระบบที่ต้องมีการแบ่งส่วนการทำงาน ให้งานแต่ละงานได้ใช้ซีพียูอย่างทั่วถึง ตัวอย่าง ให้พิจารณาระบบที่ประกอบไปด้วย 3 โปรเซสที่ถูกรับเข้ามาในระบบ เรียงตามลำดับ คือ P1, P2 และ P3 โดยที่แต่ละโปรเซสต้องการใช้ซีพียูเป็นเวลาตามที่กำหนด ให้หาค่าเฉลี่ยของเวลารอ เมื่อกำหนดให้ใช้อัลกอริทึมแบบมาก่อนบริการก่อน

Image

การรอของแต่ละโปรเซส สามารถแสดงได้ด้วย Gantt Chart ดังนี้ Image

  • P1เข้ามาในระบบและได้รับการจัดสรรให้ใช้ซีพียูทันที จึงไม่ต้องเสียเวลาในการรอซีพียู ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 0 หน่วยเวลา
  • P2ต้องรอจนกว่า P1ทำงานเสร็จเรียบร้อยและคืนซีพียูให้กับระบบ ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 24 หน่วยเวลา
  • P3ต้องรอจนกว่า P2ทำงานเสร็จเรียบร้อยและคืนซีพียูให้กับระบบ ดังนั้นเวลาในการรอซีพียู = 27 หน่วยเวลา
  • ดังนั้นค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอซีพียู คือ (0+24+27)/3 = 17 หน่วยเวลา

2.งานสั้นทำก่อน (Shortest-Job First Scheduling : SJF)

อัลกอริทึมของงานสั้นทำก่อน จะพยายามลดค่าเฉลี่ยของเวลาครบวงงาน และค่าเฉลี่ยของเวลารอ โดยกำหนดให้โปรเซสที่ต้องการใช้ซีพียูเป็นระยะเวลาน้อยได้เข้าใช้ซีพียูก่อน โปรเซสที่ต้องการใช้ซีพียูเป็นระยะเวลานาน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ข้อมูลในด้านเวลาที่จะต้องใช้ทำงานของแต่ละกระบวนการ สำหรับการจัดตารางการทำงานในระยะยาว ในระบบการทำงานแบบกลุ่ม เราสามารถใช้ข้อจำกัดเวลาที่ผู้ใช้บอกเป็นเกณฑ์ได้ ซึ่งผู้ใช้ก็จะถูกบังคับโดยอัตโนมัติ ให้ประมาณการข้อจำกัดเวลานี้ อย่างใกล้เคียงที่สุด เพราะยิ่งสั้นยิ่งมีโอกาสเข้าทำงานก่อน (แต่ถ้าสั้นเกินไป ระบบจะแจ้งข้อผิดพลาด “ใช้เวลาเกินข้อจำกัด” ซึ่งผู้ใช้ต้องวนกลับไปเริ่มส่งงานมาใหม่) โดยปกติแล้วจึงนิยมใช้ SJF ในการจัดตารางการทำงานในระยะยาว แม้ว่า SJF จะดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถนำไปใช้กับการจัดตารางการทำงานในระยะสั้น เพราะเราไม่มีทางรู้เวลาที่แต่ละกระบวนการ จะต้องทำงานจริง ๆ ทางออกก็คือ พยายามประมาณวิธี SJF โดยการพยากรณ์ค่าว่าเวลาที่กระบวนการจะต้องทำงานจากค่าในอดีต แล้วจัดตารางการทำงาน ด้วยค่าพยากรณ์นี้แทน วิธี SJF นี้อาจทำเป็นแบบให้แทรกกลางคัน (preemptive) หรือ ห้ามแทรกกลางคัน (nonpreemptive) ก็ได้ เมื่อกระบวนการใหม่เข้ามาในแถวคอย ขณะที่กระบวนการหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ถ้ากระบวนการใหม่มีเวลาที่จะต้องทำงานสั้นกว่า เวลาที่เหลือ ของกระบวนการที่กำลังทำงาน ตัวอย่าง พิจารณาระบบที่ประกอบด้วยโปรเซส P1, P2, P3 และ P4โดยที่ทุกโปรเซสถูกรับเข้ามาในะบบพร้อมกัน Image Imageจาก Gantt Chart จะเห็นว่า • โปรเซส P1ต้องรอเป็นเวลา 3 หน่วยเวลา • โปรเซส P2ต้องรอเป็นเวลา 16 หน่วยเวลา • โปรเซส P3ต้องรอเป็นเวลา 9 หน่วยเวลา • โปรเซส P4ต้องรอเป็นเวลา 0 หน่วยเวลา • ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอ คือ (3+16+9+0)/4 = 7 หน่วยเวลา

3.ลำดับความสำคัญ (Priority Scheduling)

เป็นวิธีจัดลำดับการใช้ซีพียูโดยกำหนดลำดับความสำคัญให้แต่ละโปรเซส โดยระบบจะต้องกำหนดว่า

  • ให้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญน้อยที่สุด
  • ให้ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญมากที่สุด หรือ
  • ให้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญมากที่สุด
  • ให้ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด แสดงถึงลำดับความสำคัญน้อยที่สุด

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น กรณีที่อัลกอริทึมทำงานแบบ Preemptive จะทำให้เกิดปัญหาสำคัญ คือ การอดตาย (Starvation) คือ โปรเซสที่มีลำดับความสำคัญต่ำกว่า ถูกโปรเซสที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าแย่งซีพียูไปใช้งาน ทำให้โปรเซสที่มีลำดับความสำคัญต่ำไม่มีโอกาสเข้าไปใช้ซีพียู วิธีการแก้ปัญหา การอดตาย สามารถทำได้โดยการทำ Aging คือ การกำหนดให้มีการเพิ่มค่าของลำดับความสำคัญของทุกโปรเซสในระบบเป็นระยะ ตัวอย่าง Imageเมื่อกำหนดให้ ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุดมีลำดับความสำคัญสูงที่สุด การจัดลำดับ ของซีพียูจะเป็นไปตามลำดับค่าความสำคัญ คือ P2, P5, P1, P3, P4

การจัดลำดับของซีพียูจะเป็นไปตามลำดับค่าความสำคัญ คือ P2, P5, P1, P3, P4

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการรอ คือ (13+0+19+26+8)/5  เท่ากับ 13.2 หน่วยเวลา

Image

4.วิธีวนรอบ (Round-Robin Scheduling : RR)

อัลกอริทึมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ส าหรับระบบแบ่งเวลา โดยมีการทำงานเหมือนอัลกอริทึมแบบมาก่อนบริการก่อน แต่กำหนดให้โปรเซสใช้ซีพียูในเวลาที่จำกัด เรียกว่า เวลาควอนตัม (Quantum time)  หรือ การแบ่งเวลา ตัวอย่าง ระบบคอมพิวเตอร์มีโปรเซสทั้งหมด 3 โปรเซส แต่ละโปรเซสมีเวลาเข้าระบบ และเวลาที่ต้องการใช้ซีพียู ดังนี้ โปรเซส P1 เข้าระบบเมื่อเวลา 0.0 และต้องการใช้ซีพียู 8 หน่วยเวลา โปรเซส P2 เข้าระบบเมื่อเวลา 0.4 และต้องการใช้ซีพียู 4 หน่วยเวลา โปรเซส P3 เข้าระบบเมื่อเวลา 1.0 และต้องการใช้ซีพียู 1 หน่วยเวลา เมื่อกำหนดให้ใช้การจัดลำดับใช้งานซีพียูแบบวนรอบ ที่มีเวลาควอนตัมเท่ากับ 2.0 หน่วยเวลา ให้แสดงวิธีทำเพื่อคำนวณหาเวลาครบวงงานเฉลี่ย Image

คำศัพท์ os สัปดาห์ที่ 15

opreand  ตัวถูกดำเนินการเป็นหน่วยข้อมูลหรือเป็นเครื่องมือที่ถูกดำเนินการที่ถูกนำ ไปคำนวณซึ่งหน่วยข้อมูลที่ถูกไปดำเนินการ จะมีตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไป
Operating System  ระบบปฏิบัติการเป็นระบบปฏิบัติการที่ควบคุมและจัดการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้ที่ควบคุมหรือกำลังปฏิบัติการอยู่สามารถ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
Operating code  รหัสดำเนินการเป็นรหัสของชุดคำสั่งที่ถูกกำหนดให้ปฏิบัติการดำเนินงานใน คอมพิวเตอร์อยู่ในส่วนของคำสั่ง ระดับภาษาเครื่องที่ควบคุมโดย  รหัสปฏิบัติการ
personal computer  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีผู้ใช้งานแบบคนเดียวทำ งานโดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อย่างอื่นช่วยเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
pointer  ตัวชี้เป็นตัวชี้ข้อมูลไปยังเรคคอร์ดหรือข้อมูลที่เราต้องการ

คำศัพท์ os สัปดาห์ที่ 14

Pseudocode  รหัสเทียมหรือรหัสจำลอง เป็นเครื่องมือใช้ในการวิเคราะห์โปรแกรม เป็นการทดสอบและย่อจากโครงสร้างจริงของคอมพิวเตอร์ มีการเขียนมาในลักษณะธรรมดา
RAM  หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มโครงสร้างในหน่วยความจำจะถูกเรียกหาข้อมูลคืนมา
Real time  เวลาจริงหรือทันทีเป็นการประมวลผลแบบ online ซึ่งจะมีการตอบรับและประมวลผลอย่างรวดเร็ว
Record   ระเบียนหรือบันทึก เป็นการรวมข้อมูลจากฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน โครงสร้างข้อมูลจะเป็นแบบตัวเลขตายตัว
Register ( เรจิสเตอร์)   เป็นการเก็บข้อมูลแต่ละชนิดได้ เป็นหน่วยความจำที่มีพื้นที่เล็กๆ ใช้ในการเก็บผลลัพธ์จากการคำนวณของหน่วยคำนวณ

คำศัพท์ os สัปดาห์ที่ 13

First-come-first-served: FCFS โปรเซสไหนเข้ามารอในคิวก่อนจะได้ครอบครองซีพียูก่อน ตามลำดับเวลาของการเข้ามาอยู่คิว

Round-robin :RR  ลักษณะของโปรเซสจะเป็นแบบมาก่อนได้ก่อนแต่ต่างกันตรงที่การครอบครองซีพียู ของโปรเซสในสถานะ รันจะถูกจำกัดเวลาได้ด้วยระยะเวลาควอนตัมหรือเป็นแบบตัดตอนได้
Shortest job next :SJN  
การคัดเลือกเอาโปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานน้อยที่สุดเข้ารันก่อนทำให้ โปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานน้อยจบออกไปได้เร็วขึ้น

Shortest remaining time : SRT  การคัดเลือกโปรเซสด้วยวิธีนี้คล้ายๆ กับชนิดงานสั้นที่สุดก่อน แต่วิธีนี้เป็นแบบตัดตอนได้ โดยจะเลือกเอาโปรเซสที่ “เหลือเวลาในการทำงานน้อยที่สุดเข้าไปครอบครองซีพียู ซึ่งทำให้โปรเซสที่ต้องการเวลาในการทำงานนาน แต่ใกล้จะจบแล้วสามารถจบออกไปจากระบบได้เร็วขึ้น

Scheduling  การเลือกงานหรือโปรเซสให้เข้ามาใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดซึ่งจะพิจารณาแต่ ทรัพยากรที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบในระดับหนึ่ง และในอีกระดับหนึ่งสำหรับทรัพยากรที่มีจำกัด คือ หน่วยประมวลกลางนั่นเอง

คำศัพท์ os สัปดาห์ที่ 12

interactive system   ระบบเชิงโต้ตอบเป็นคำสั่งในการยอมให้มีการติดต่อและโต้ตอบกันในระหว่างระบบของผู้ใช้งานและทำการปฏิบัติงานของ CPU ในโปรแกรม

interface  ตัวเชื่อมประสานส่วนประกอบของเขตข้อมูล e.g. ในระบบทั้ง 2 หรือกลไกในการเชื่อมประสาน

expert system ระบบผู้เชี่ยวชาญซอร์ฟแวร์จะรวมประกอบด้วย 1 มีความรู้ความชำนาญในขอบเขตจำนวนพื้นฐานที่ได้ทราบ 2 สามารถรอบรู้พื้นฐานในการทำและตัดสินใจมีคุณสมบัติพร้อม

facsimile system  ระบบโทรภาพ, โทรสารเป็นระบบที่ผู้ใช้สื่อสารทางรูปภาพ ต้นฉบับและแผนที่และอื่นๆ ระหว่างทางภูมิศาสตร์ ตามส่วน แยกหัวข้อ รูปภาพที่สแกนเป็นสื่อของหัวข้อและภาพจำลองความคิดของเรื่อง

fiber-optic cable  สายเส้นใยนำแสงข้อมูลที่เป็นสื่อในการนำสายใยมาดูและสายแก้ว หรือวัตถุหลอมได้ที่สามารถเป็นสื่อจำนวนมากมายในขณะที่มีความเร็วในการส่อง สว่างของข่าวสารข้อความที่ออ

คำศัพท์ os สัปดาห์ที่ 11

master file แฟ้มข้อมูลหลักข้อมูลในแฟ้มที่มีความคงทนถาวร หลายๆครั่งจะมีการจัดการปรับปรุงแฟ้มในการบันทึกข้อมูลให้ ทันสมัยขึ้น

menu รายการเลือกคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะเซต โปรแกรมเพื่อเตรียมการไว้เลือกคำสั่งในการแสดงหัวข้อผู้ใช้สามารถดูได้จาก การเลือกเมนูคำสั่งแสดงผลโปรแกรมจะทำงานหนักมากในการรันโปรแกรม

maintenance programming  รักษาโปรแกรมข้อปฏิบัติในการักษาแก้ไขสภาพของโปรแกรมให้ถูกต้องและคงอยู่สภาพดังเดิม

 mainframe คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สามรถรับจำนวนของกลไกภายรอบนอกได้มาก

hard copy   สำเนาถาวรหรือสิ่งพิมพ์ออกพิมพ์หรือภาพที่ออกมาจากการมองเห็นของมนุษย์